วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย



กฎหมายในประเทศไทยมี่อยู่มากมายปัญหาในการใช้กฏหมาย คือ ควรประกาศให้ชัดเจนว่ามาตราใดยกเลิกหรือมาตราใดยังใช้อยู่ เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนอยู่กับตัวกฏหมาย
ความจำเป็นในการรู้กฏหมายต้อง รู้ให้มากเนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีกลโกงมากมายและมักจะมีพวกชอบฉวยโอกาส ที่ใช้ประโยชน์จากช่องว่างของกฏหมายอย่างน้อยเราก็ควรรู้กฏหมายที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน

การอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี

๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง
ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

การตีความ การตีความมี 2 กรณี
หลักการตีความในกฎหมายทั่วไป

ตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้น
ตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น

หลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษ
ต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัด
ห้ามขยายความให้เป็นโทษ
ต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหา

การใช้กฎหมาย

กฎหมายใช้กับใคร
ใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น

กฎหมายใช้ที่ไหน
ใช้ในราชอาณาจักร
ราชอาณาจักร ได้แก่
๑. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง
๒. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง ๒๐๐ ไมล์ทะเล
๓. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ ๑ และ ๒
สำหรับ การกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดย กฎหมายไทย

กฎหมายใช้เมื่อไร
ใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น
๑. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๓. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้
เ้จ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลา
เพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมาย

การยกเลิกกฎหมาย
โดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. ยกเลิกโดยตรง
2. ยกเลิกโดยปริยาย
การ ยกเลิกโดยตรง คือ การระบุยกเลิกกฎหมายนั้น ๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเอง
ส่วนการยกเลิกโดย ปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใด
นั่น คือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยป ริยาย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของกฎหมาย



ความหมายของกฎหมาย

ปัจจุบัน แนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาตินั้นไม่เคยมีอิทธิพลสูงสุดอย่างเด็ดขาดเหนือ ความคิดเรื่องกฎหมายฝ่ายบ้านเมอง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติจะไร้ประโยชน์เพราะเท่าที่ผ่านมา แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติได้มีอิทธิพลมากในสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จากคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1776 ซึ่งกล่าวถึงสิทธิโดยธรรมชาติ ในอันที่ จะแยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระ นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติได้นำเรื่องสิทธิธรรมชาติไปเป็นหลักในการประกาศใช้ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ.1948 ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าบรรดาผู้จัดทำกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง ก็ได้พยายามจะนำคุณธรรมและคุณค่าทางจริยธรรมเข้ามาผสมผสานในกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเป็นการผ่อนคลายความคิดในทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองลง อันเป็นการสร้างประสิทธิภาพที่ดีให้แก่กฎหมายต่าง ๆ ที่นำมาประกาศใช้บังคับแก่ประชาชน

นอกจากนักปรัชญาทางกฎหมายของสองสำนักความคิดดังกล่าวที่ได้พยายามให้คำนิยามคำว่า กฎหมาย ก็ยังมีผู้ได้พยายามค้นหาคำตอบว่ากฎหมายคืออะไรอีกหลายท่าน อาทิเช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ซึ่งได้รับสมญาว่า พระบิดาแห่งกฎหมายไทย ทรงอธิบายไว้ว่า กฎหมาย นั้นคือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ นักกฎหมายคนอื่น ๆ ก็ได้อธิบายไว้ทำนองเดียวกัน คือ

ศาสตราจารย์หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า กฎหมายได้แก่ กฎข้อบังคับว่าด้วย การปฏิบัติ ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม

ศาสตราจารย์เอกูต์ อธิบายว่า กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อห้ามซึ่งมนุษย์ต้องเคารพใน ความประพฤติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อันมาจากรัฆฐาธิปัตย์หรือหมู่มนุษย์ มีลักษณะทั่วไปใช้บังคับได้เสมอไปและจำต้องปฏบัติตาม

อย่างไรก็ดี ทุกนิยามความหมายข้างต้น ก็จะทำได้แต่เพียงการอธิบายความหมายที่ใกล้เคียงที่สุด ว่ากฎหมายคืออะไรเท่านั้น แต่ยังไม่เคยปรากฏเลยว่า มีผู้ใดสามารถให้คำตอบที่สมบูรณ์ถูกต้องที่สุดในข้อนี้ได้ ทั้งนี้เพราะแม้แต่ตัวกฎหมายเอง ก็เป็นอนิจจังอย่างหนึ่ง ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามภาวการณ์และกาลสมัยของสังคม

สำหรับในที่นี้ ขออธิบายว่า กฎหมายนั้นมีความหมายหลายประการสุดแท้แต่จะถือเอาข้อใดเป็นสาระสำคัญ ถ้าถือเอาหน้าที่ของกฎหมายเป็นสาระสำคัญแล้ว กฎหมายย่อมหมายถึง กฎแห่งความประพฤติของมนุษย์ในสังคมซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์และเป็นบรรทัดฐานความประพฤติ สำหรับมนุษย์รุ่นต่อ ๆ ไปในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าถือเอาแหล่งหรือผู้ทำให้มีกฎหมายตามความเป็นจริงในสังคมเป็นหลักแล้ว กฎหมาย ย่อมหมายถึง คำสั่งของผู้เป็นใหญ่ในสังคมซึ่งมีอำนาจในการออกคำสั่งนั้นและ การละเมิดคำสั่งย่อมได้รับผลร้ายอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อย่างไรก็ตามในการอธิบาย ณ ที่นี้ ขออธิบายตามลักษณะของกฎหมายโดยทั่วไป ซึ่งแบ่งออกได้ 4 ประการ คือ

(1) กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งคำบังคับมิใช่คำขอร้องวิงวอน หรือแถลงการณ์

(2) กฎหมายเป็นคำสั่งคำบังคับที่กำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม ซึ่งเรียกว่ารัฏฐาธิปัตย์

(3) กฎหมายเป็นคำสั่งคำบังคับที่ใช้บังคับ หรือให้เป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป

(4) กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้จะได้อธิบายต่อไปในตอนที่ 1.2

กฎหมายกับศีลธรรม

ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ชอบการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ และแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดข้อบังคับอันเป็นการควบคุมความประพฤติของมนุษย์เช่นเดียวกับศีลธรรมก็ตาม กฎหมายกับศีลธรรมก็ยังมีข้อแตกต่างกัน บางประการ กล่าวคือ

1. กฎหมายเป็นข้อบังคับที่กำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ ซึ่งหากเขาคิดร้ายอยู่ในใจกฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็นเรื่องความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ ฉะนั้นแม้คิดไม่ชอบในใจก็ย่อมผิดศีลธรรมแล้ว

2. ศีลธรรมมีความมุ่งหมายสูงกว่ากฎหมาย เพราะศีลธรรมมุ่งหมายให้มนุษย์พร้อมบริบูรณ์ไปด้วยความดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่กฎหมายมุ่งหมายเพียงดำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งเป็นผลจากทางการเท่านั้น

3. กฎหมายนั้น การฝ่าฝืนจะต้องได้รับผลร้ายโดยรัฐเป็นผู้กำหนดสภาพบังคับแต่ การฝ่าฝืนศีลธรรมย่อมมีผลสภาพบังคับเป็นลักษณะการกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ฝ่าฝืน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่ความรู้สึกผิดชอบในแต่ละบุคคล

ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมนี้มีข้อที่น่าสังเกต กล่าวคือ บางกรณีศีลธรรมเรียกร้องให้มนุษย์ปฏิบัติมากกว่ากฎหมาย เช่น การเป็นนางบำเรอลักลอบได้เสียกับชายที่มีภรรยาแล้วไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ถือว่าเป็นการผิดต่อศีลธรรมในสังคมไทย แต่ก็มีกรณีอื่นเช่นกันที่กฎหมายไปไกลกว่าศีลธรรม เช่น การไม่จัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อมีอายุถึงกำหนด ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายแต่ไม่ผิดศีลธรรม เป็นต้น

กฎหมายกับจารีตประเพณี

จารีตประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงสิ่งที่เป็นการกระทำภายนอกของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งจารีตประเพณีนี้อาจจะเป็นการเฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่ง เช่น ประเพณีการค้า หรือเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ซึ่งสังคมหนึ่งอาจมีจารีตประเพณีที่แตกต่างจากจารีตประเพณีของอีกสังคมหนึ่งก็ได้

ด้วยเหตุที่จารีตประเพณีมุ่งคำนึงถึงพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์อันกำหนดขอบเขตและยึดถือต่อ ๆ กันมา ซึ่งเหมือนกับกฎหมายในส่วนที่มุ่งควบคุมพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็มีข้อแตกต่างในสาระสำคัญบางประการ กล่าวคือ

1. กฎหมายนั้นรัฐจะเป็นผู้มีอำนาจบัญญัติขึ้นใช้บังคับ แต่จารีตประเพณีนั้นประชาชนอาจจะเป็นชนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นผู้กำหนดขึ้นก็ได้

2. การกระทำที่ผิดกฎหมายย่อมรับผลร้าย คือ การลงโทษตามกฎหมาย แต่ถ้ากระทำผิดจารีตประเพณีผลร้ายที่ได้รับคือ การถูกติเตียนจากสังคม

อย่างไรก็ตาม จารีตประเพณีก็เป็นกฎหมายได้ในบางสังคม เช่น ในกลุ่มประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ต่างถือเอาจารีตประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายบ้านเมือง แม้ในประเทศไทยเองก็ยอมรับจารีตประเพณีบางเรื่อง ในบางโอกาส โดยถือว่าอาจใช้เป็นกฎหมายได้ในลำดับรองลงมาจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

ความสำคัญของกฎหมาย


ความสำคัญของกฎหมายและความจำเป็นที่ต้องรู้กฎหมาย

ด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบเพราะทุกคนรักความอิสระ แต่ถ้าทุกคนทำอะไรตามใจชอบจนเกินไป ก็อาจเป็นการรบกวนและก่อความเดือดร้อนระหว่างกันได้ ดังนั้นการกำหนดขอบเขตความอิสระในการทำสิ่งใด ๆ จึงต้องมีการจำกัดลงด้วยมาตรฐานอันเดียวกันที่จะใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคน ในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนดวิถีทางปฏิบัติภารกิจของมนุษย์ประจำวันนับตั้งแต่เกิดจนตายหากผู้ใดกระทำเกินเลยขอบเขตที่กำหนดไว้แล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะต้องได้รับผลร้ายจากสังคมเป็นการตอบแทน กฎเกณฑ์และข้อบังคับเหล่านี้ได้วิวัฒนาการตามภาวะของสังคมจนกลายเป็นกฎหมาย ซึ่งจะได้วิวัฒนาการต่อไป ดังนั้นเราจึงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าชีวิตของคนเรานี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย

โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราจะยิ่งเห็นได้ชัดว่ากฎหมายเกี่ยวพันกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิด กฎหมายก็กำหนดว่า เจ้าบ้านหรือมารดาต้องไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตร เมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสก็ต้องจดทะเบียนสมรส ระหว่างเป็นสามีภรรยากัน การจัดการทรัพย์สินก็ตกอยู่ภายใต้กฎหมาย เมื่อเสียชีวิตลงก็ต้องแจ้งเพื่อขอรับใบมรณบัตร นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันก็ยังมีกรณีเกี่ยวพันกับกฎหมาย เช่น ตื่นขึ้นมารต้องออกไปจ่ายตลาดซื้อหาอาหารบริโภคก็ต้องใช้กฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยซื้อขาย เมื่อไปทำงานเป็นลูกจ้างเขาก็ต้องใช้กฎหมายจ้างแรงงาน และกฎหมายแรงงาน จึงเห็นได้ว่าในแต่ละวันชีวิตของเราต้องผูกพันกับกฎหมายตลอดเวลา

นอกจากนี้ในชีวิตของเราส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมือง จะเห็นได้ว่าประชาชนทุกคนในชาติย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นี้เราก็ได้มากมายหลายประการตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ แต่ทั้งนี้หน้าที่ของประชาชนต่อชาติก็ย่อมมีขึ้น จะต้องปฏิบัติไปให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่สำหรับชายที่จะต้องเข้ารับราชการทหาร สิ่งเห่านี้ล้วนแล้วก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้กฎหมายจึงมีความจำเป็นแก่ประชาชนเพราะเป็นการให้ประโยชน์แก่ประชาชนเองโดยตรง และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเป็นระเบียบ และความสงบเรียบร้อยในสังคมขึ้น เพราะถ้าหากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าทางด้านกฎหมายก็มักจะเกิดปัญหาขึ้น อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกัน และประชาชนต่อข้าราชการผู้ปฏิบัติการไปตามหน้าที่ ซึ่งปรากฏอยู่เสมอว่าข้อขัดแย้งเหล่านี้เกิดจากความไม่เข้าใจกันอันเนื่องมาจากความไม่รู้กฎหมายทั้งสิ้น

ดังนั้นในทางกฎหมายจึงเกิดหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว ทั้งนี้เป็นหลักที่สืบเนื่องมาจากนโยบายการใช้กฎหมายว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นการทั่วไปแก่คนทุกคน เพราะบางคนจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดกันเสียหมด ก็คงไม่ต้องมีการรับโทษตามความรับผิดนั้น ยิ่งกว่านั้นถ้าหากให้แก้ตัวได้ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนปิดหูปิดตาไม่ยอมรับรู้กฎหมาย เพราะถ้ายิ่งรู้มากก็ต้องผิดมาก ถ้ารู้น้อย ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดเท่าไร

ฉะนั้นโดยหลักแล้วบุคคลจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดตามกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่กฎหมายจะเปิดโอกาสให้กล่าวอ้างได้ ข้อยกเว้นเช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ จากบทบัญญัติมาตรานี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายยอมรับรู้ข้อแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย แต่การยอมรับของกฎหมายนี้ยังไม่เด็ดขาดโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าศาลเชื่อว่า ผู้นั้นไม่รู้ว่ามีกฎหมายนั้นจริง ๆ แล้ว ศาลเพียงแต่จะลงโทษให้น้อยลงเท่านั้นมิได้ยากเลิกการกระทำผิดนั้นให้สิ้นสภาพความผิดไป

จากที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น จึงอาจสรุปประโยชน์ของการศึกษาได้ดังนี้

1. ประโยชน์ในด้านการศึกษาทางสังคมศาสตร์ เพราะนิติศาสตร์เป็นการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม โดยมาตรการทางกฎหมาย

2. ประโยชน์อันเกิดจากการได้รู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพราะเมื่อเราอยู่รวมกันเป็นสังคม การกำหนดขอบเขตความประพฤติของบุคคลให้อยู่ภายใต้กฎหมายข้อบังคับจึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม

3. ประโยชน์จากการระวังตัวเองที่ไม่พลั้งพลาดกระทำผิดอันเนื่องมาจากหลักที่ว่า ความไม่รู้ข้อกฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว เพราะถ้าทำผิดแล้วก็ต้องเกิดความรับผิดเสมอไป เว้นแต่กฎหมายจะเปิดโอกาสให้กล่าวอ้างข้อแก้ตัวได้ เฉพาะในบางกรณี

4. ประโยชน์ในทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรง เพราะการประกอบอาชีพต่าง ๆ ก็ล้วนแต่อาศัยกฎหมายทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะกฎหมายเข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตของเราตลอดเวลา เช่น ทำการค้าต้องไปจดทะเบียนการค้า ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรต้องจ้างคนทำงานตามกฎหมายแรงงาน ดังนั้นประโยชน์ที่ได้จากการศึกษากฎหมายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ

5. ประโยชน์ในทางการเมืองการปกครอง เมื่อเราเป็นประเทศประชาธิปไตยสิทธิหน้าที่ของประชาชนจึงมีความสำคัญเป็นหัวใจของการปกครอง เมื่อประชาชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนและใช้สิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายแล้ว ก็จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของการปกครองและการบริหารงานทางการเมือง ให้สอดคล้องตาม

องค์ประกอบของกฎหมาย




กฎหมาย สามารถแยกองค์ประกอบ ออกได้เป็น ๔ ข้อคือ

๑. กฎหมายเป็นบทบัญญัติ.

๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมาย จะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.

๓. บทบัญญัติที่กำหนดไว้ มี ๒ ประเภท คือ

(๑) บทบัญญัติ ที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.

(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคล ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง).

๔. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องได้รับโทษ หรือ ต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม.

ซึ่งจะได้อธิบายตามลำดับไป

๑. กฎหมายเป็น บทบัญญัติ.

บทบัญญัติ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในกฎหมาย การที่เราจะทราบว่า บทบัญญัติ คืออะไร เราคงต้องดูจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้นิยามความหมาย ของถ้อยคำที่เกี่ยวข้องไว้ว่า

“บท”

๐ เป็นคำนาม หมายความว่า ข้อความเรื่องหนึ่งๆ หรือ ตอนหนึ่ง

“บัญญัติ”

๐ เป็นคำนาม หมายความว่า ข้อความที่ตรา หรือ กำหนดขึ้นไว้เป็น ข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ.

๐ เป็นคำกริยา หมายความว่า ตรา หรือ กำหนดขึ้นไว้เป็น ข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือ เป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย.

“ข้อบังคับ” หรือ “กฎข้อบังคับ” หมายความว่า บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับ ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย.

“บังคับ”

เป็นคำกริยา หมายความว่า ใช้อำนาจสั่งให้ทำ หรือ ให้ปฏิบัติ, ให้จำต้องทำ.

“บทบัญญัติ” หมายความว่า ข้อความที่กำหนดไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร ในกฎหมาย.

“ลายลักษณ์” หมายความว่า ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายเป็นรูปต่างๆ.

“อักษร” หมายความว่า ตัวหนังสือ, เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียง หรือ คำพูด.

จากคำนิยามความหมายของถ้อยคำ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ทำให้เราทราบว่า บทบัญญัติ คือข้อความ ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติ หรือดำเนินการ ซึ่งจะต้องมีการบังคับ หรือใช้อำนาจสั่งให้ทำ หรือ ให้ปฏิบัติ และจะต้องบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การที่ กฎหมาย ต้องบันทึกไว้เป็น ตัวอักษร ก็เพื่อให้เป็นหลักฐานที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงได้ในภายหลัง หากไม่มีลายลักษณ์อักษรก็จะต้องใช้วิธีจำเอาไว้ ซึ่งอาจหลงลืม หรือจำผิดเพี้ยนกันไป อันเป็นเหตุให้เกิดการโต้เถียงกัน และไม่มีทางหาข้อยุติได้.

๒. ผู้มีอำนาจตรากฎหมายจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ.

การที่เราจะทราบว่าใครบ้างเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมาย เราต้องทราบเสียก่อนว่า อำนาจคืออะไร?

คำว่า “อำนาจ” มีหลายความหมาย คือ

๐ สิทธิ เช่น มอบอำนาจ.

๐ อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่.

๐ ความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อำนาจบังคับของกฎหมาย อำนาจบังคับบัญชา.

๐ ความสามารถ หรือสิ่งที่สามารถทำหรือบันดาลให้เกิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.

๐ กำลัง, ความรุนแรง, เช่นชอบใช้อำนาจ.

๐ ความบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อำนาจ.

๐ การบังคับ เช่น ขออำนาจศาล.

๓. บทบัญญัติที่เป็นกฎหมาย มี ๒ ประเภท คือ

(๑) บทบัญญัติที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง.

(๒) บทบัญญัติที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน (ไม่เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง)

(๑) กฎหมายที่ใช้ในการบริหารบ้านเมือง เป็น กฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลผู้มีอำนาจปกครอง กับ บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับ ผู้ถูกปกครอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ปกครองด้วยกัน กฎหมายประเภทนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศโดยเฉพาะ ในทางวิชาการเรียกกันว่า “กฎหมายปกครอง”

กฎหมายปกครอง มีองค์ประกอบ ที่เป็นสาระสำคัญ ๕ ประการ คือ ๑. สถาบัน ๒. ตำแหน่ง ๓. หน้าที่ ๔. อำนาจ ๕. ความรับผิดชอบ.

(๒) กฎหมายที่ใช้บังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลธรรมดา หรือ สามัญชน ด้วยกัน ทางวิชาการเรียกว่า “กฎหมายเอกชน”

กฎหมายเอกชน มีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. สถานภาพ ๒. สิทธิ ๓. หน้าที่ ๔. ความรับผิด

๔. กฎหมาย ต้องมีสภาพบังคับ

มาตรการบังคับของกฎหมาย

กฎหมายได้กำหนดมาตรการ และ วิธีการบังคับไว้ ๒ ประเภทคือ

(๑) การลงโทษ

(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ.

(๑) การลงโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายอาญา จะต้องรับผิดในทางอาญา โดยจะต้องถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้

คำว่า "โทษ" หมายความว่า มาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ดำเนินการแก่ ผู้กระทำความผิดอาญา

โทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายอาญา มี ๕ ประการคือ

๑. ประหารชีวิต ๒. จำคุก ๓. กักขัง ๔. ปรับ ๕. ริบทรัพย์สิน

คำว่า " ลงโทษ" หมายความว่า ทำโทษ เช่น จำขัง จำคุก เป็นต้น.

(๒) การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ การบังคับให้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมาย เป็นสภาพบังคับทางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ การบังคับให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระจะถูกบังคับยึดทรัพย์สินออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หรืออาจถูกฟ้องให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เป็นต้น ไม่มีการลงโทษเหมือนกรณีฝ่าฝืนกฎหมายอาญา.

เว้นแต่ ในชั้นบังคับคดี บางกรณี คดีที่ศาลออกคำบังคับให้ผู้แพ้คดี หรือ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการ) เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้ว ผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดี และผู้ชนะคดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจศาลที่จะออกหมายจับผู้แพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษามากักขังไว้ เพื่อบังคับ แต่ห้ามมิให้กักขังแต่ละครั้งเกินกว่า หกเดือน นับแต่วันจับหรือกักขัง แล้วแต่กรณี (ป.วิแพ่ง. มาตรา ๒๙๗, ๓๐๐.)



ประเภทของกฎหมาย



กฎหมายที่จะนำมาใช้นั้น อาจมีในรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับในระบบประมวลกฎหมายนั้น กฎหมายที่ใช้อยู่ส่วนมากเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเกือบทั้งสิ้น หากเราจะพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ก็อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง เช่น ถ้าแบ่งโดยแหล่งกำเนิดอาจแบ่งได้เป็นกฎหมายภายในซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์กร ของรัฐที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้ภายในประเทศ และกฎหมายภายนอกซึ่งบัญญัติขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศหรือเกิดขึ้นจากความ ตกลงระหว่างประเทศภาคีที่เห็นพ้องต้องกันที่จะยอมรับกฎหมายหรือข้อตกลง ระหว่างประเทศนั้น

กฎหมายภายใน ก็ยังอาจแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ถ้าแบ่งโดยถือเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร

ถ้าแบ่งโดยถือสภาพบังคับในกฎหมายเป็นหลักก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายอาญาและ กฎหมายแพ่ง

ถ้าแบ่งโดยถือลักษณะการใช้เป็นหลัก ก็จะแบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

สำหรับ กฎหมายภายนอก ซึ่งได้แก่กฎหมายระหว่างประเทศนั้น ก็อาจจะแบ่งออกตามลักษณะของฐานะ และความสัมพันธ์เช่นกัน เช่น แบ่งเป็น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐใน การร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ และส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน

ประเภทของกฎหมายภายใน

กฎหมายที่ใช้ภายในประเทศไทยอาจแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ กันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดการพิจารณาแบ่งตามที่กล่าวมาในบทนำ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการแบ่งกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ก) กฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร

การแบ่งกฎหมายในลักษณะนี้เป็นการแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเมื่อกฎหมายใดได้ถูกบัญญัติขึ้น โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย (หรือกระบวนการนิติบัญญัติ) ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงตราเป็นกฎหมายกฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น เหตุที่นิยมออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรก็เพราะกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มีตัวตนในรูปลายลักษณ์อักษร ตัวอักษรเป็นภาษาที่สื่อความหมายได้ระหว่างมนุษย์ในสังคม เมื่อได้บัญญัติกฎหมายในรูปลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ย่อมทำให้กฎหมายนั้นถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร ประชาชนโดยทั่วไปก็สามารถอ่านและเข้าใจถึงข้อความในกฎหมายได้ กฎหมายลายลักษณ์อักษรจึงเป็นกฎหมายที่เป็นหลักเป็นฐาน สามารถอ้างอิงได้โดยสะดวกด้วยกันทุกฝ่าย เช่น รัฐอ้างตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา หรือในพระราชบัญญัติเพื่อลงโทษผู้ที่กระทำการฝ่าผืนกฎหมายนั้น ๆ

นอก จากนี้กฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจออกโดยองค์กรอื่นหรือฝ่ายอื่น นอกจากฝ่ายนิติบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น เช่น ออกโดยฝ่ายบริหารภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ เช่น เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศ และเพื่อความมั่นคงของประเทศ ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) มีอำนาจออกกฎหมาย เช่น พระราชกำหนดได้ตัวพระราชกำหนดที่ออกมาใช้บังคับก้ออกมาในรูปกฎหมายลายลักษณ์ อักษร ตัวอย่างที่นักศึกษาอาจเห็นได้คือ การที่รัฐบาลจะกำหนดราคาน้ำมันเป็นการด่วนและฉุกเฉิน รัฐบาลจะใช้อำนาจที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญตรากฎหมายในรูปพระราชกำหนด ในการกำหนดราคาน้ำมันชนิดต่าง ๆ หรือในกรณีอื่น เช่น ฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับเรื่องอัตราภาษีต่าง ๆ ซึ่งอาจจะต้องอาศัยกลไกในการออกกฎหมายอย่างฉับพลัน เพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์อันไม่เป็นธรรมอันจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความ มั่นคงทางเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของประชาชนภายในประเทศ

การออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรยังอาจออกได้โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายอื่นยกตัวอย่างเช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจเป็นเทศบาล หรือสุขาภิบาล อาจออกกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ภายในเขตเทศบาลหรือเขตสุขาภิบาล โดยอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 เป็นต้น

(2) กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

หมายถึง กฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติขึ้นโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 3.1 เรื่องที่มาของกฎหมาย สำหรับในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมายนั้น กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นได้แก่ จารีตประเพณี ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 3.1.2 ข) และหลักกฎหมายทั่วไป เฉพาะในส่วนที่มิได้เกิดขึ้นจากการบัญญัติกฎหมาย ดังที่ได้กล่าวมาในเรื่องที่ 3.1.2 ค)

นอกจากนี้กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรยังหมายถึง กฎหมายที่ไม่ปรากฏเป็นตัวอักษรที่เราเรียกว่า unwritten law เนื่องจากในการบัญญัติกฎหมายเรื่องหนึ่ง ๆ หรือมาตราหนึ่งนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายนั้น หรือมีเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายนั้น หรือย่อมมีหลักการและเหตุผลของกฎหมายนั้น นักนิติศาสตร์บางท่านให้ความเห็นว่าตัววัตถุประสงค์ เจตนารมณ์ หรือหลักการและเหตุผลนั้น คือกฎหมายที่แท้จริงแต่ผู้ร่างกฎหมายต้องถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาเพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบถึงข้อความในกฎหมาย ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ จึงเป็นเพียงสิ่งที่ทำให้ปรากฏขึ้นเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้น หากจะมีข้อสงสัยในถ้อยคำที่ใช้ในตัวบทแล้ว นักนิติศาสตร์ย่อมจะต้องย้อนไปดูวัตถุประสงค์เจตนารมณ์ หรือหลักการและเหตุผลของกฎหมายนั้นเพื่อหาความหมายที่แท้จริง หรือที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากผู้ร่างสามารถถ่ายทอด unwritten law ออกมาเป็นตัวบทกฎหมายได้ดีแล้ว unwritten law กับกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ปรากฎก็จะไม่มีความแตกต่างกัน

ข) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง

นักศึกษาได้ศึกษาเรื่องสภาพบังคับของกฎหมายมาแล้วในหน่วยที่ 1 ซึ่งได้กล่าวถึงสภาพบังคับในลักษณะต่าง ๆ แต่สภาพบังคับของกฎหมายที่เป็นหลักสำคัญนั้นมีอยู่สองประการด้วยกัน คือ สภาพบังคับทางอาญาและสภาพบังคับทางแพ่ง การพิจารณาแบ่งประเภทของกฎหมายตามสภาพบังคับนั้น คงจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นสภาพบังคับทางอาญาและอะไรเป็นสภาพบังคับ ทางแพ่ง

สำหรับสภาพบังคับทางอาญานั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ได้บัญญัติถึงโทษในทางอาญาได้แก่ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างนึ่ง หรือหลายอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้นที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษผู้ที่กระทำผิดทางอาญา

ส่วนสภาพบังคับทางแพ่งนั้น ไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ ไว้โดยตรงเช่นในประมวลกฎหมายอาญา แต่อาจจะสังเกตได้จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้ การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือเป็นโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม

การ แบ่งประเภทของกฎหมายว่ากฎหมายใดเป็นกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งจึงอาจจะดู อย่างคร่าว ๆ ได้ โดยการพิจารณาจากสภาพบังคับ หากบทบัญญัติใดมีโทษทางอาญาสถานใดสถานหนึ่งใน 5 สถานดังกล่าวมาข้างต้นก็ย่อมเป็นกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา หากกฎหมายนั้นมีสภาพบังคับเป็นอย่างอื่น (นอกจากสภาพบังคับในกฎหมายอาญาทั้ง 5 สถาน) โดยปกติกฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายแพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ในกฎหมายบางฉบับอาจจะมีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กัน ไปก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น กฎหมายที่ยกตัวอย่างมานี้คุ้มครองทั้งสาธารณชนและปัจเจกชน (หมายถึงประชาชนแต่ละคน) เพราะโดยทั่วไปความผิดในทางอาญาย่อมเกิดขึ้นจากกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคม ส่วนรวมหรือสาธารณชนแต่ความผิดในทางแพ่งนั้นเกิดจากการกระทำที่มีผลต่อคู่ กรณีที่เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น กฎหมายที่มีลักษณะผสมดังกล่าว จึงเป็นทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งผสมกันอยู่ในตัว

ค) กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

การแบ่งประเภทของกฎหมายในกรณีนี้ เป็นการแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กฎหมายโดยทั่วไปส่วนมากจะเป็นกฎหมายในรูปกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความคิด อันจะก่อให้เกิดผลคือสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้ที่มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดขึ้น บทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาหรือในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ แต่การที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้นั้น จึงเป็นจะต้องมีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ ซึ่งเราเรียกว่ากฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งได้แก่กฎหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง เป็นต้น

หาก จะยกตัวอย่างตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดมีการกระทำความผิดทางอาญาขึ้น เราจะรู้ได้ว่าเป็นความผิดทางอายาก็เมื่อตรวจดุจากตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ว่า เข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมายและกฎหมายนั้นได้กำหนดโทษสำหรับความ ผิดนั้น ๆ ไว้ด้วย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษไว้จึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ส่วนกฎหมายที่กำหนดวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับนั้นได้แก่ ประมวลกฎหมายวีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้จะกำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการ ดำนินคดีอาญา การร้องทุกข์กล่าวโทษว่าได้มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิพากษาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด

การ ดำเนินคดีแพ่งก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีความขัดแย้งหรือโต้แย้งสิทธิระหว่างบุคคลตามที่กฎหมายรับรองให้ เช่นโต้แย้งสิทธิตามที่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้แล้วหรือโต้แย้งสิทธิตามที่คู่ กรณีตกลงกันไว้ในสัญญา (อันเสมือนเป็นกฎหมายที่คู่กรณีตกลงให้บังคับกันได้) คู่กรณีย่อมนำเรื่องขึ้นมาฟ้องร้องเป็นคดียังโรงศาลได้ หรือแม้การขอให้ศาลสั่งรับรองสิทธิหรือคุ้มครองสิทธิในบางโอกาส เช่นการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้จัดการมรดก หรือการยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ ตามปพพ.มาตรา 1382 สำหรับตัวอย่างการที่ให้ศาลคุ้มครองสิทธิก็ได้แก่ การที่ขอให้ศาลสั่งเป็นผู้ไร้ความสามารถเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของผู้วิกล จริต ตาม ปพพ. มาตรา 29 ก็ย่อมจะกระทำได้เมื่อกฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ แต่ทั้งนี้การนำคดีแพ่งใด ๆ ขึ้นสู่ศาล ก็ย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติถึงวีการและขั้นตอนในการดำเนินคดี โดยเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาพิพากษาคดี และการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา

ตามความเข้าใจของผู้เขียน กฎหมายบางฉบับก็มีทั้งส่วนที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติปนกันก็มี ทำให้ยากแก่การจะแบ่งว่าเป็นประเภทใด เช่น พระราชบัญญัติล้มละลายซึ่งก็มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบของกฎหมาย และสภาพบังคับ ซึ่งเป็นเรื่องของกฎหมายสารบัญญัติ แต่ในขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติกล่าวถึงวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย จึงทำให้เป็นกฎหมายที่เป็นทั้งสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ การที่จะตัดสินว่าเป็นกฎหมายประเภทใดนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเราคงจะต้องดูว่าสาระนั้นหนักไปทางด้านใดมากกว่ากัน

ง) กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

(1) กฎหมายมหาชน

เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครองประชาชน เพราะในการบริหารประเทศนั้น รัฐจะต้องมีอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม ประชาชนสามารถอาศัยอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนจึงมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศเพราะรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ตัวอย่างของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติค้ากำไรเกินควร เป็นต้น

ถ้านักศึกษาได้ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่าเป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบแบบแผนในการใช้อำนาจอธิปไตย และกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนซึ่งก็หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนนั่นเอง กฎหมายปกครองก็เป็นกฎหมายที่กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการริการสาธารณด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนสำหรับกฎหมายอาญาก็เป็นกฎหมายที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ความผิดทางอาญาที่กฎหมายได้บัญญัติเอาโทษนั้นเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อให้สังคมส่วนรวมดำรงอยู่ได้ ส่วนวีการและขั้นตอนที่จะเอาตัวคนผิดมาลงโทษทางอาญานั้น มีบัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังที่เคยกล่าวมาแล้ว

พระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นก็เช่นกัน ล้วนเป็นกฎหมายที่มุ่งควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุข ให้เป็นไปด้วยความเป็นธรรม และให้สนองตอบนโยบายของรัฐที่ได้วางไว้เพื่อความเจริญของสังคมส่วนรวม เพราะการที่ประชาชนแต่ละคนจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขได้นั้น สังคมส่วนรวมต้องมีความสงบสุขเสียก่อน เราจึงควรคำนึงถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มิฉะนั้นสังคมก็จะอยู่ไม่ได้

(2) กฎหมายเอกชน

เป็น กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของ กฎหมายที่จะช่วยมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ตัวอย่างของกฎหมายเอกชน คือ กฎหมายแพ่งทั้งหลายซึ่งบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ พระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น ล้วนเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมาสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่าง กัน ในรูปของการทำนิติกรรมสัญญาที่จะมีผลผูกพันระหว่างคู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง โดยมีกฎหมายรับรองคุ้มครองให้ หากคู่กรณีปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถทำสัญญากันได้ แต่สัญญาที่ทำนั้นจะมีผลผูกพันคู่กรณีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการที่ได้ ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการสัญญาซื้อขายนั้นก็ย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพัน คู่กรณี สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายย่อมเกิดขึ้นในระหว่างกัน ถ้าฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ก็ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้ สัญญาอื่นก็เช่นกันไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะหรือจะเป็นสัญญาในลักษณะอื่นใดที่กฎหมายยอมรับรองก็ย่อมก่อให้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันได้ เนื่องจากกฎหมายยอมให้เอกชนสามารถสร้างความผูกพันกันได้ภายใต้ความคุ้มครอง ของกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระหว่างกัน

ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนว่า การแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทนี้ นิยมทำแต่เฉพาะในประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เช่น ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุผลในทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ นักนิติศาสตร์ในสมัยก่อนต้องการให้มีหลักเกณฑ์ การใช้กฎหมายและการตีความต่างกัน จนเป็นเหตุให้มีการแบ่งแยกศาล โดยให้มีศาลปกครองทำหน้าที่วินิจฉัยคดีตามกฎหมายมหาชน ต่างหากจากศาลยุติธรรมซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยคดีตามกฎหมายเอกชนในเวลาต่อมา ส่วนในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์นั้น กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน มิได้แบ่งแยกต่างหากจากกัน และถือว่าเป็นเรื่องของกฎหมายเดียวกัน จึงอาจบัญญัติกฎหมายเอกชนไว้ในกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายมหาชนไว้ในกฎหมายเอกชนก็ได้ แม้ศาลที่ใช้กฎหมายทั้งสองก็มิได้แบ่งแยกแต่เป็นศาลเดียวกันพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภท และหลักเกณฑ์การใช้กฎหมายและการตีความก็อย่างเดียวกันหรือใกล้ เคียงกัน

อย่าง ไรก็ตามในเวลาต่อมา แม้ในประเทศที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเองก็นิยมบัญญัติกฎหมายเอกชนและมหาชน ผสมผสานกัน เพราะความจำเป็นบางประการ แม้ในประเทศไทยก็ได้นำเอามาบัญญัติร่วมกันในกฎหมายบางฉบับ ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนในส่วนที่คุ้มครองลิขสิทธิ์ของงานที่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ คิดสร้างสรรค์ขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหนังสือ หรืองานเขียนรูปภาพ พิมพ์ภาพ ถ่ายภาพหรืองานออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือตกแต่งภายใน หรืองานแต่งคำร้องทำนองเพลงหรือการคิดท่าทางการเต้น ร่ายรำต่าง ๆ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ฉบับนี้ ผู้ใดจะเอาผลงานที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายนั้น การคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเองโดยอำนาจแห่ง กฎหมาย เพราะรัฐต้องการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ที่สร้างสรรค์งานเหล่านั้นขึ้นมา และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยทั่วไปคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ขึ้นมา รัฐจะยื่นมือเข้าไปคุ้มครองตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชน แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการโอนลิขสิทธิ์หรือการยินยอมให้ใช้สิทธิ์โดยมีค่าตอบ แทน หรือไม่มีค่าตอบแทนนั้นเป็นเรื่องของกฎหมายเอกชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของลิขสิทธิ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องตกลงกันใน ระหว่างกันได้ ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของกฎหมายที่ผสมกันระหว่างกฎหมายมหาชนและ กฎหมายเอกชนยังมีกฎหมายที่ผสมกันระหว่างกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน ยังมีกฎหมายที่ผสมกันในทำนองนี้อีกหลายฉบับซึ่งนักศึกษาคงจะพบในการค้นคว้า กฎหมายต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

เรื่องที่ 3.2.3

ประเภทของกฎหมายภายนอก

นักศึกษาได้ศึกษากฎหมายภายในมาแล้ว ในเรื่องที่ 3.2.3 นี้จะได้ศึกษาการแบ่งประเภทของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายภายนอกที่มีผลต่อประชาชนในประเทศด้วย

กฎหมายระหว่างประเทศนั้น อาจแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท ด้วยกันคือ

ก) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

ข) กฎหมายระว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

ค) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

ผู้เขียนจะขอแยกกล่าวในแต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้

ก) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่นักนิติศาสตร์บางท่านเห็นว่าไม่เป็นกฎหมายโดยแท้จริง เป็นเพียงธรรมะหรือแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นมาใช้กันในระหว่างสังคมประชาชาติ เหตุที่เห็นว่าไม่เป็นกฎหมายโดยแท้จริงก็เพราะไม่มีสภาพบังคับที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากไม่มีองค์กรที่จะมีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามมติของสมัชชาใหญ่หรือสังคมประชาชาติ ส่วนใหญ่ หรือตามคำพิพากษาของศาลโลก(International Court of Justice) ได้ คงมีเพียงแต่คำเชิญชวนให้สมาชิกในสังคมประชาชาติบีบบังคับในด้านต่าง ๆ เช่น การไม่ติดต่อคบหาสมาคมด้วย หรือไม่ติดต่อในทางการค้าขายด้วย เพื่อเป็นการสร้างสภาพบังคับ (sanction) ทางอ้อม เพื่อให้ปฏิบัติตามมติหรือคำพิพากษานั้น การไม่มีองค์กรที่จะบังคับให้เป็นไปตามมติหรือคำพิพากษา ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาคือการใช้กำลังทหารเข้าบังคับเสียเอง และในบางครั้งก็กลายเป็นสงครามซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่พลโลก และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีนักกฎหมายอีกเป็นจำนวนมากเห็นว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองนี้เป็นกฎหมาย เพราะการที่จะพิจารณาว่าเป็นกฎหมายหรือไม่ โดยเทียบเคียงกับกฎหมายภายในโดยทั่วไปนั้นย่อมไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่บังคับแก่สังคมประชาชาติ ในขณะที่กฎหมายภายในบังคับแก่ประชาชน จึงไม่อาจจะใช้มาตรฐานเดียวกันมาตัดสินสิ่งที่แตกต่างกันได้

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับอันว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ในการที่จะปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่ารัฐใดจะเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลที่สมมุติขึ้นตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น คงจะต้องพิจารณาว่ารัฐดังกล่าวเข้าเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ดังต่อไปนี้หรือไม่

1) ต้องมีประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเป็นปึกแผ่น เรียกว่าพลเมือง

2) ต้องมีดินแดนเป็นของตน ซึ่งมีอาณาเขตแน่นอน

3) ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน

4) ต้องมีเอกราชไม่ขึ้นแก่รัฐอื่นใด

5) ต้องมีอธิปไตย กล่าวคือ มีอำนาจกระทำการใด ๆ โดยอิสระตามความเห็นชอบของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมบ้านเมืองภายใน หรือกิจการติดต่อสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ

รัฐใดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศได้

กฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้จากความตกลงที่ได้ทำขึ้นโดยทั่วไป เพื่อให้ประเทศอื่นเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีด้วย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ หรือ เช่น สนธิสัญญาสากลไปรษณีย์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่จะร่วมมือกันในการส่งข่าวสารในระหว่างกัน นอกจากความตกลงที่ทำขึ้นโดยทั่วไปแล้ว ยังอาจมีความตกลงซึ่งกระทำขึ้นระหว่างรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ภาคี เช่น บรรดาสนธิสัญญาทั้งหลายที่ทำขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ระหว่างประเทศคู่ภาคีซึ่งมีมากมายด้วยกัน เมื่อได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และประเทศต่าง ๆ ที่เป็นภาคีได้ยอมรับรองโดยให้สัดยาบันแล้ว ก็จะกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้ได้

กฎหมายระหว่างประเทศยังเกิดขึ้นได้จากจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน ซึ่งบรรดารัฐหรือประเทศทั้งหลายเห็นชอบด้วยกับแนวปฏิบัติอันว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐต่อรัฐเหล่านั้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่มีผลเช่นเดียวกับกฎหมายที่ทำขึ้นโดยความตกลงดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว สำหรับตัวอย่างในกรณีนี้ก็มีเช่น หลักปฏิบัติในการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ที่จะต้องมีพิธีการต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติตามจารีตประเพณี และเรื่องเอกสิทธิ์ในทางการทูต ซึ่งต่างมีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เป็นต้น

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองจึงมีระดับต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า มีประเทศที่เกี่ยวข้องด้วยมากน้อยเพียงใด กฎบัตรสหประชาชาติย่อมมีความสำคัญมาก เพราะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลบังคับแก่บรรดาประเทศสมาชิกซึ่งในปัจจุบันมีอยู่มากมาย 160 ประเทศ สนธิสัญญาสากล ย่อมมีความสำคัญมากกว่าสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพราะสนธิสัญญาระหว่างประเทศมีประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องน้อยกว่าสนธิสัญญาสากล สนธิสัญญาระหว่างประเทศอาจมีประเทศที่เข้าร่วมเพียงกลุ่มหนึ่ง หรืออาจเป็นเพียงประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ดังนั้นสนธิสัญญาระหว่างสองประเทศนี้ย่อมมีความสำคัญน้อยกว่าสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหลายประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นเรื่องที่นักศึกษาควรศึกษาและให้ความสนใจเช่นเดียวกับกฎหมายภายใน เพราะเป็นความจำเป็นที่เราควรจะต้องรู้ การขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ในด้านหนึ่งด้านใดย่อมเป็นข้อเสีย เหมือนดังเช่นครั้งหนึ่งประเทศไทยขาดแคลนนักกฎหมายระหว่างประเทศ จนทำให้ต้องสูญเสียเขาพระวิหารไปให้แก่กัมพูชา อันเป็นความเสียหายที่คนไทยทั้งชาติไม่ลืมเลย

ข) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในต่างรัฐ ในสมัยก่อนที่โลกยังไม่มีความเจริญ การคมนาคม การติดต่อสื่อสารยังไม่ดีพอ ความสำคัญของกฎหมายนี้ยังไม่ค่อยเห็นชัด ในโลกปัจจุบันประชาชนในโลกมีการเดินทาง ติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว ความสัมพันธ์กันในเชิงส่วนตัวหรือในเชิงธุรกิจการค้าก็ย่อมมีเพิ่มมากขึ้น คนต่างรัฐต่างชาติต่างภาษามาแต่งงานกัน ก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับแก่เรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างสามีภรรยา ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา หรือเมื่อจะหย่ากันจะใช้เหตุหย่าของประเทศใดก็ย่อมมีเงื่อนไขต่างกันไปผลของ การหย่าและการแบ่งแยกทรัพย์สินหลังจากการหย่าก็ย่อมจะเป็นเรื่องที่จะต้องมี กฎหมายที่กำหนดเครื่องต่าง ๆ เหล่านี้ให้แน่นอน หรืออีกกรณีหนึ่งคือ การติดต่อทำธุรกิจค้าขายระหว่างประชาชนต่างรัฐ ก็ย่อมมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดมาบังคับแก่สัญญาที่คู่กรณีสองฝ่าย ทำขึ้นเพื่อใช้ผูกมัดระหว่างกันและการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาหากมีการโต้ แย้งไม่ลงรอยกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่จะกำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนหรือเอกชนต่างรัฐที่สมัครใจเข้ามามีความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อจะเป็นกฎหมายกลางที่มิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันในการใช้ กฎหมายภายในของรัฐหนึ่งมาบังคับแก่ความสัมพันธ์ดังกล่าว กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนี้จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทุกที่ในสังคมที่ เจริญอย่างในปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีกฎหมายหลักซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย อันเป็นกฎหมายที่จะกำหนดให้ใช้กฎหมายใดบังคับแก่ความสัมพันธ์ในเชิงกฎหมาย ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่นๆ

ค) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

กฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับรองให้ศาลส่วนอาญาของ อีกรัฐหนึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำความผิด นอกประเทศนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา ซึ่งในบางครั้งได้กระทำในต่างแดน หรือผู้กระทำได้หลบหนีออกไปนอกรัฐที่กระทำความผิดเพื่อให้รอดพ้นจากการลงโทษ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา จึงเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกระทำผิดทาง อาญาระหว่างประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาที่หนีไปอยู่นอกเขตอำนาจของรัฐ จึงเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจของรัฐ ที่จะลงโทษตามกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายภายในได้ ประเทศต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างดี ก็มักจะทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมตามหลักถ้อยทีถ้อย ปฏิบัติต่อกันและกัน ประเทศไทยได้มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเคยจับนักโทษผู้ต้องหาคดียาเสพติดที่หลบหนีจากเรือนจำ โดยลักลอบออกไปประเทศมาเลเซียและอีกไม่กี่วันต่อมา รัฐบาลมาเลเซียก็จับตัวส่งคืนมาให้รัฐบาลไทย เพื่อดำเนินการพิจารณาลงโทษต่อไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม สเปน และอิตาลี เป็นต้น

หลังจากนักศึกษาได้ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศทั้งสามแผนกแล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่ากฎหมายระหว่าปงระเทศซึ่งเป็นกฎหมายภายนอกนั้น จะมีศักดิ์หรือระดับความสำคัญสูงกว่ากฎหมายภายในประเทศหรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบหุตะสิงห์ ได้ให้ความเห็นว่า ถ้ามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หรือกฎหมายภายใน (เช่น พระราชบัญญัติ) ได้บัญญัติรับรองไว้ว่าให้ถือข้อตกลงหรือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ก็ย่อมไม่มีปัญหาแต่ถ้ากรณีที่ข้อตกลงหรือกฎหมายระหว่างประเทศนั้นยังมิได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายภายในฉบับใดรับรอง โดยหลักทั่วไปแล้วกฎหมายภายนอกย่อมเหนือกฎหมายภายใน ถ้าจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหา คงจะต้องตรากฎหมายภายในเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเข้าทำนองแก้กฎหมายภายในให้กฎหมายระหว่างประเทศนั้นมีผลบังคับใช้ได้ เป็นทำนองข้อยกเว้นของกฎหมายภายใน

ศักดิ์ของกฎหมาย

การจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย

กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้นี้ อาจจะออกโดยอาศัยอำนาจจากองค์กรที่ต่างกัน เช่น รัฐธรรมนูญออกโดยองค์กรนิติบัญญัติที่สูงสุดของประเทศคือรัฐสภา พระราชบัญญัติก็ออกโดยรัฐสภาเช่นกัน ในขณะเดียวกฎหมายหลักเหล่านี้ก็อาจมอบอำนาจให้องค์กรอื่นออกกฎหมายได้เช่นเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมายได้ในรูปของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อความเหมาะสมบางประการ และพระราชบัญญัติบางฉบับก็ให้อำนาจองค์กรปกครองตนเอง เช่น เทศบาล สุขาภิบาล ออกกฎหมายเพื่อใช้ในเขตเทศบาล หรือสุขาภิบาลนั้น เป็นต้น

การ ที่มอบหมายให้ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ออกกฎหมายแทนฝ่ายนิติบัญญัติ แทนที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะออกกฎหมายเสียเองหมด ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นการออกกฎหมายเฉพาะกฎหมายที่สำคัญอันเป็นการกำหนดหลักการและนโยบาย เท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ออกโดยรัฐสภาอันเป็นตัวแทนของปวงชนชาว ไทย (2) การที่ให้รัฐสภาออกกฎหมายหลักดังกล่าว ย่อมเป็นการทุ่มเวลาเพราะแทนที่จะมาอภิปรายกันในรายละเอียดทำให้ไม่สามารถ ออกกฎหมายได้มาก ทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) การที่ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกบทก็ย่อมจะต้องอยู่ในกรอบของ หลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น จึงเป็นการมอบอำนาจการออกกฎหมายอีกทอดหนึ่ง ฝ่ายที่รับมอบอำนาจก็คือฝ่ายที่เป็นผู้ปฏิบัติ ย่อมทราบข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาในการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงอาจนำมาช่วยในการออกกฎหมายลูกบท เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง หรือเทศบัญญัติได้เหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ และ (4) การออกกฎหมายระดับนี้ สามารถแก้ไขกฎหมายลูกบทเหล่านี้ให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ดี หากจะออกในรูปพระราชบัญญัติแล้วการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกก็จะต้องรอผ่าน การเสนอเป็นร่างกฎหมาย เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ ซึ่งอาจจะต้องรอและใช้เวลาในการแก้ไขนานจนบางทีอาจจะไม่ทันการณ์การที่ให้ ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ออกกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ดี และเป็นการกระจายอำนาจอีกด้วย

โดยปกติกฎหมายของไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะมีกฎหมายจารีตประเพณีอยู่บ้างก็น้อยมาก ในบรรดากฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งหลาย ย่อมมีระดับชั้นต่างกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศย่อมมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาพ กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล และกฎหมายที่ออกโดยองค์การการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ

โดยปกติกฎหมายของไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จะมีกฎหมายจารีตประเพณีอยู่บ้างก็น้อยมาก ในบรรดากฎหมายลายลักษณ์อักษรทั้งหลาย ย่อมมีระดับชั้นต่างกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นแม่บทในการวางระเบียบบริหารประเทศย่อมมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา กฎหมายที่ออกโดยรัฐบาล และกฎหมายที่ออกโดยองค์การการปกครองท้องถิ่น ตามลำดับ

หากจะจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (hierarchy of laws) หรือลำดับชั้นของกฎหมายย่อมจะเรียงลดหลั่นกันไป ดังต่อไปนี้

1. รัฐธรรมนูญ

2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ

(ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ)

3. พระราชกฤษฎีกา

4. กฎกระทรวง

5. เทศบัญญัติ ข้อบังคับสุขาภิบาล และข้อบัญญัติจังหวัด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบบริหารประเทศ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายที่สำคัญกว่ากฎหมายฉบับใดทั้งสิ้นและเป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน จะมีกฎหมายฉบับใดออกมาขัดแย้งรัฐธรรมนูญฯ มิได้ หากมีกฎหมายฉบับใด เรื่องใดออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญฯ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากขัดกับกฎหมายแม่บทที่ยึดถือเป็นหลักในการปกครองบริหารประเทศ กฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่ออกมาย่อมต้องสนองรับหลักการและนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

พระ ราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ตามที่บัญญัติเป็นขั้นตอนไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นขอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย จึงเป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา โดยความเห็นชอบของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังที่กล่าวกันว่า พระราชบัญญัติคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของ รัฐสภา ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายโดยทั่วไปนั้น โดยวิธีปกติธรรมดาจะออกในรูปพระราชบัญญัติเสมอ แต่ถ้าหากกฎหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็ อาจจะออกในรูปประมวลกฎหมายได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัฐฎากร เป็นต้น แต่ประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

พระ ราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศจึงไม่อาจรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาตาม วิธีปกติได้ทันการณ์พระราชกำหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่เมื่อตราขึ้นใช้แล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (ตามที่รัฐธรรมนูญฯ จะกำหนดไว้ เช่น สอง หรือสามวัน) ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นก็ตกไปหรือสิ้นผลบังคับ การต่าง ๆ ที่เป็นไประหว่างที่มีพระราชกำหนดก็ไม่ถูกกระทบกระเทือนเพราะเหตุที่พระราช กำหนดต้องตกไปเช่นนั้น

ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ได้ให้พระราชอำนาจไว้ โดยให้ออกเป็นประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ปกติประกาศพระบรมราชโอการฯ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด กล่าวคือในยามที่มีสถานะสงคราม หรือในภาวะคับขันถึงขนาดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะกับสถานการณ์ รัฐธรรมนูญบางฉบับจะมีบทบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้พระองค์ทรงใช้อำนาจโดยประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ จึงทำให้ประกาศพระบรมราชโองการฯ มีศักดิ์เทียบกับพระราชบัญญัติ เช่นเดียวกับพระราชกำหนด แต่ประกาศพระบรมราชโองกาฯ ไม่เป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวดังเช่นพระราชกำหนด ที่จะต้องรีบให้รัฐสภาอนุมัติโดยด่วน ประกาศพระบรมราชโองการฯ จึงเป็นกฎหมายที่ถาวรจนกว่าจะมีการยกเลิกโดยพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่น

พระราชกฤษฎีกา คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือโดยที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตราขึ้นเป็นพิเศษ โดยไม่ขัดต่อ กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการฯ และจะขัดกับกฎหมายใดที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ โดยปกติพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดสืบเนื่องมาจากความในพระ ราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจึงเป็นการประหยัดเวลาที่รัฐสภาไม่ต้องพิจารณาใน รายละเอียดคงพิจารณาแต่เพียงหลักการและนโยบายที่จะต้องบัญญัติในกฎหมายหลัก แล้วจึงให้อำนาจมาออกพระราชกฤษฎีกาภายหลัง ซึ่งเป็นการสะดวกที่ฝ่ายบริหารจะมากำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติเองและยัง เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์ได้ง่าย เพราะฝ่ายบริหารสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติดังเช่นการ ออกพระราชบัญญัติ อนึ่ง มีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา พระราชกฤษฎีกาเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น

กฎกระทรวง คือกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ และโดยปกติกฎหมายหลักจะระบุให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงในแต่ละกรณีไว้ กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ถ้าสำคัญรองลงมาก็ออกเป็นกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บทจึงไม่อาจจะขัดกับกฎหมายที่เป็นแม่บทนั้นเอง และกฎหมายอื่นๆ ที่มีศักดิ์สูงกว่าได้นอกจากฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจจะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศเพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย

เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ต่างเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ตามลำดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายเหล่านี้ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นองค์กรที่ปกครองตนเอง ต่างก็มีอำนาจตามกฎหมายแต่ละฉบับที่จะออกกฎหมายเพื่อบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีอยู่ในกฎหมาย แต่การออกกฎหมายระดับนี้ย่อมจะขัดต่อกฎหมายในระดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ ต่างกับกฎหมายอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นกฎหมายซึ่งมีผลใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร

ดัง นั้นประชาชนทุกคน จะต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วทั้งสิ้น นับว่าเป็นเรื่องที่เป็นภาระหนักที่รัฐจะต้องทำให้ประชาชนรู้กฎหมาย เพื่อจะได้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน เพราะถ้าประชาชนไม่มีทางจะทราบถึงข้อความในกฎหมายแล้วรัฐนำเอากฎหมายนั้นมา บังคับก็ย่อมเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ในขณะเดียวกันประชาชนก็ควรขวนขวายที่จะรู้กฎหมายด้วย เพื่อป้องกันสิทธิและรู้จักหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองดีด้วยเช่น กัน

อนึ่ง ยังมีกฎหรือข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเคยถือกันทั้งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติ ว่าเป็นกฎหมายหรือ ถือว่าเป็นกฎหมาย คือ ประกาศของคณะปฏิวัติ (บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน) ซึ่งออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงพระปรมาภิไธย เช่นได้มี ฎ. 1662/2505 รับรองได้ว่าประกาศของคระปฏิวัติเป็นกฎหมาย ส่วนที่ว่าประกาศของคณะปฏิวัติจะมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดก็ต้องพิจารณาจาก เนื้อความของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนั้นเอง เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชบัญญัติหรือวางข้อ กำหนดซึ่งปกติแล้วเรื่องเช่นนี้ยอมออกเป็นพระราชบัญญัติย่อมมีศักดิ์เท่ากับ พระราชบัญญัติ ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกพระราชกฤษฎีกา หรือวางข้อกำหนดซึ่งปกติแล้วเรื่องเช่นนี้ย่อมออกเป็นพระราชกฤษฎีกาย่อมมี ศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา เช่นตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2486 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2497) การจัดตั้งคณะขึ้นใหม่ให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่เมื่อมีการออกประกาศของคณะ ปฏิวัติฉบับที่ 164 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ให้ยกฐานะแผนกวิชานิติศาสตร์ขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวย่อมมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา

เรื่องที่ 3.3.2

ประโยชน์ของการจัดลำดับของกฎหมายตามศักดิ์

การ ทราบศักดิ์ของกฎหมายมีประโยชน์ในทางปฏิบัติคือ การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายใด ต้องกระทำโดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากันหรือสูงกว่า เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องทำโดยตรารัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิกพระราชกฤษฎีกาก็ต้องทำโดยตราพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาฉบับ ใหม่จะออกกฎกระทรวงมายกเลิกพระราชกฤษฎีกาไม่ได้ กฎหมายเหล่านี้ไม่สู้จะมีปัญหาเพราะชื่อบอกฐานะหรือศักดิ์อยู่แล้วในตัวและ การออกกฎหมายใหม่ที่มีชื่ออย่างเดียวกันมาอีกในภายหลังก็ไม่ยุ่งยากอะไรแต่ ในกรณีที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติอาจเกิดปัญหา มาก เช่น มีการออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ต่อมาคณะปฏิวัติสลายตัวไปแล้วและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น มีรัฐสภาเกิดขึ้น หากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ต่อมาคณะปฏิวัติสลายตัวไปแล้วและมีรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น มีรัฐสภาเกิดขึ้น หากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 ไม่เหมาะสมต่อไปสมควรยกเลิกเสีย การจะออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับใหม่มายกเลิกก็ทำไม่ได้ในภาวะปกติ วิธียกเลิกจึงต้องตรวจดูว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 15 นั้นมีศักดิ์เท่ากับกฎหมายใดจะได้ออกกฎหมายนั้นมายกเลิก เช่น หากมีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ ก็จะได้ให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติมายกเลิก หากมีศักดิ์เท่ากับพระราชกฤษฎีกา ก็จะได้ให้คณะรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกต่อไป

แผนผังแสดงระดับชั้นของกฎหมาย