วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย



กฎหมายในประเทศไทยมี่อยู่มากมายปัญหาในการใช้กฏหมาย คือ ควรประกาศให้ชัดเจนว่ามาตราใดยกเลิกหรือมาตราใดยังใช้อยู่ เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนอยู่กับตัวกฏหมาย
ความจำเป็นในการรู้กฏหมายต้อง รู้ให้มากเนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีกลโกงมากมายและมักจะมีพวกชอบฉวยโอกาส ที่ใช้ประโยชน์จากช่องว่างของกฏหมายอย่างน้อยเราก็ควรรู้กฏหมายที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน

การอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี

๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง
ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

การตีความ การตีความมี 2 กรณี
หลักการตีความในกฎหมายทั่วไป

ตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้น
ตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น

หลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษ
ต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัด
ห้ามขยายความให้เป็นโทษ
ต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหา

การใช้กฎหมาย

กฎหมายใช้กับใคร
ใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น

กฎหมายใช้ที่ไหน
ใช้ในราชอาณาจักร
ราชอาณาจักร ได้แก่
๑. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง
๒. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง ๒๐๐ ไมล์ทะเล
๓. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ ๑ และ ๒
สำหรับ การกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดย กฎหมายไทย

กฎหมายใช้เมื่อไร
ใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น
๑. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๓. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้
เ้จ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลา
เพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมาย

การยกเลิกกฎหมาย
โดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. ยกเลิกโดยตรง
2. ยกเลิกโดยปริยาย
การ ยกเลิกโดยตรง คือ การระบุยกเลิกกฎหมายนั้น ๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเอง
ส่วนการยกเลิกโดย ปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใด
นั่น คือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยป ริยาย